top of page
HEALTHY SPACES AND THEIR PERCEPTIONS

By Jane Chongsuwat and Integrated Field

Chapter 1 : Ventilation (Architecture as Controls of Air)

This series of articles questions “healthy” spaces and their perceptions: 

What is a healthy space? How was health spatialized in architecture? How have these paradigms shifted? How should we respond to them?

บทความในซีรีส์นี้เป็นการตั้งคำถามถึงพื้นที่สุขภาวะ (healthy space) และแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนิยามของพื้นที่สุขภาวะว่าคืออะไร? หรือสุขภาวะถูกนำไปแปรเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมได้อย่างไร? การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่ว่านี้เป็นไปอย่างไร? และเราควรมีท่าทีตอบสนองต่อมันแบบไหน?

In the German architect Karl Friedrich Schinkel’s painting Pegasus above the City from 1837, the post-industrial city  appears to be overwhelmed — “literally lost in a blanket of smoke,” as pointed out by David Gissen.[1]  Even though Schinkel was portraying the “new reality” of spatial engagement with pollution and modernity in the fully industrialized English Midlands in the nineteenth century,[2]  looking out of one of Bangkok’s skyscraper windows earlier this year would offer not so much of a different atmosphere, except the spires of the factory exhausts are now replaced by glass and concrete towers.   

ในภาพเขียนโดยสถาปนิกเยอรมันอย่าง Karl Friedrich Schinkel ที่มีชื่อว่า Pegasus Above the City ซึ่งวาดขึ้นในปี 1837 นั้น สะท้อนภาพเมืองในยุคหลังอุตสาหกรรมที่อยู่ในขั้นเลวร้าย “มันถูกปกคลุมไปด้วยคลื่นหมอกควัน” นี่คือสิ่งที่ David Gissen กล่าวไว้[1] และแม้ว่า Schinkel จะแสดงให้เห็นภาพของ “ความจริงรูปแบบใหม่” ของการที่มลพิษทางอากาศและความเป็นสมัยใหม่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคมิดแลนด์ของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 ซึ่งเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ความเป็นอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่[2] การมองออกไปจากกระจกบนตึกระฟ้าในกรุงเทพฯ เมื่อต้นปีที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีบรรยากาศที่ต่างไปสักเท่าไหร่ เว้นแต่ว่าปล่องควันไฟของโรงงานได้ถูกแทนที่ด้วยอาคารกระจกและคอนกรีตเท่านั้นเอง

34._schinkel.jpg
pm2.5-crisis.jpg

 

Fig. 1: Karl Friedrich Schinkel, “Pegasus Over the City”

Fig. 2: Bangkok covered in dust www.thairesidents.com 

After a few years of dealing with air pollution crisis, as our city’s PM2.5 level was recorded as the world’s third highest,[3] we’ve gotten used to the sight of masked bodies in the streets (or even the absence of bodies, now with the pandemic lockdown). At the time, when just the first cases of the new coronavirus infections had just been known, it seemed more likely that the PM2.5 was going to be the archnemesis of our health and well-being, that forces us, as biopolitical citizens, to reorient living conditions, and as designers, to rethink how air should be manipulated through buildings. Evidently, the biggest threat to the first quarter of 2020 has been associated with public health — both in the environmental and personal scale. This article questions the implications of “healthy spaces” through air, the notion around natural ventilation and architectural purification schemes in the creation of healthy spaces, and how recent threats have and will shift the way we perceive these spaces. 

ไม่กี่ปีหลังจากที่ต้องรับมือกับวิกฤติมลภาวะทางอากาศ เมื่อค่าฝุ่น PM 2.5 ของกรุงเทพฯ ทยานขึ้นอันดับ 3 ของเมืองที่อากาศแย่ที่สุดในโลก[3] เราเองต่างเริ่มจะคุ้นชินกับภาพของผู้คนใส่หน้ากากอนามัยเดินอยู่ตามท้องถนน (หรือแม้กระทั่งภาพของเมืองอันว่างเปล่าและไร้ผู้คนหลังการเกิดโรคระบาด) ย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่ผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสรายแรกๆ เริ่มปรากฏให้เห็น ดูเหมือนว่าฝุ่น PM 2.5 จะเป็นศัตรูตัวฉกาจของสุขภาพอนามัยของเรา  ที่จะบังคับให้เราในฐานะของประชากรซึ่งมีความเป็นพลเมืองเชิงชีวการเมือง ปรับเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ และเราในฐานะนักออกแบบกลับมาทบทวนว่าอากาศควรถูกกำหนดและจัดการอย่างไรผ่านการมีอยู่และทำงานของอาคารต่างๆ ซึ่งเราเห็นได้ชัดแล้วว่าภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 นั้นล้วนเกี่ยวข้องกับสุขอนามัยของสาธารณชนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะในระดับสิ่งแวดล้อมหรือตัวบุคคล บทความชิ้นนี้จึงตั้งคำถามถึงนัยยะต่างๆ ของ “พื้นที่สุขภาวะ” ผ่านอากาศ แนวคิดเกี่ยวกับการระบายอากาศแบบธรรมชาติ และแบบแผนของการสร้างความบริสุทธิ์ทางสถาปัตยกรรมในการสร้างพื้นที่สุขภาวะ ไปจนถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในช่วงไม่ถึงปีที่ผ่านมา ว่าได้เปลี่ยนและกำลังจะเปลี่ยนวิธีการรับรู้พื้นที่ต่างๆ เหล่านี้อย่างไร

As architects, we have been trained that in designing “healthy” spaces (in terms of their energy efficiency), there are certain environmental factors to consider and certain strategies to implement. In the G.Z. Brown and Mark DeKay’s canonical guidebook Sun, Wind, & Light: Architectural Design Strategies, which now strangely feels like a nostalgic antiquity, the author wrote, “In simple and beautiful ways, each act of building can serve to heal the relationship between people and the living systems of which we are all a part,” emphasizing the act of designing a building as the act of “healing the environment.”[4]

ในฐานะสถาปนิก เราถูกสอนว่า การจะออกแบบพื้นที่ “สุขภาวะ” (ในมิติของประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน) นั้นมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมบางอย่างที่ต้องถูกนำมาพิจารณา และกลยุทธ์บางอย่างที่ต้องถูกนำมาใช้ ในหนังสือเล่มสำคัญที่ถูกยอมรับกันอย่างแพร่หลายของ G.Z. Brown และ Mark DeKay อย่าง Sun, Wind, and Light: Architectural Design Strategies ที่ตอนนี้ให้ความรู้สึกเป็นเหมือนของโบร่ำโบราณซึ่งชวนให้ถวิลหาอดีตไปแล้วอย่างน่าประหลาด ผู้เขียนได้เขียนเอาไว้ตอนหนึ่งว่า “ด้วยหนทางที่เรียบง่ายและงดงาม บทบาทของแต่ละอย่างของอาคารสามารถช่วยรักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและระบบของการดำรงชีวิตต่างๆ ที่มีพวกเราเป็นส่วนหนึ่งของมัน” โดยเน้นย้ำถึงการออกแบบอาคารในฐานะของการกระทำที่สามารถช่วยเยียวยารักษาสิ่งแวดล้อมได้”[4]

Screen Shot 2563-06-09 at 5.23.02 AM.png

Fig. 3: Ventilation diagram from the cover of

 Sun, Wind, Light: Architectural Design Strategies

Boasting its own place in the book’s trinity title, wind, or natural ventilation, has arguably been considered as a key element in the creation of healthy spaces — both evident in Thai and western architectural paradigms. We all know King Chulalongkorn (Rama V) sought to build a “healthier” palace — the Dusit Garden Palace —  after he returned from his trip to Europe in 1897, when the Grand Palace became too crowded. Due to the lack of ventilation, the Grand Palace was not only stiflingly hot in the summer, the congested air also led to epidemics and improper sanitation.[5] In the new palace, the king was able to enjoy the “space” and “airiness”[6]  in his golden teak “residence on the clouds,” the Phra Thinang Vimanmek,  and its open verandahs. Not only was his physical health recuperated (as he stayed here after he was infected by Malaria), [7] his emotional health did too, as he was often reported as relaxed.[8] The pursuit for a well-ventilated residence for health-related reasons during the early days of Bangkok’s urbanization was well carried out by the king’s half brother,  HRH Prince Narisaranuwattiwongse, and his son King Vajiravudh (Rama VI), when they each built the Plainoen Palace (1912-1914) and the Mrigadayavan Palace (1923-24), after each being diagnosed with chronic bronchitis and rheumatoid arthritis,[9] respectively.[10] In the case of King Vajiravudh, it was suggested by his physician that a “sojourn in a warm and airy seaside climate” would alleviate his condition.  

นับว่าสมกับการเป็นหนึ่งในสามธาตุที่ถูกนำไปใช้เป็นชื่อหนังสือ ซึ่ง ‘ลม’ หรือ ‘การระบายอากาศทางธรรมชาติ’ ได้กลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่มีศักยภาพในการช่วยสร้างพื้นที่สุขภาวะขึ้นมาได้ ดังที่ปรากฏให้เห็นมาแล้วในกระบวนทัศน์ทางสถาปัตยกรรมทั้งในไทยและโลกตะวันตก เรารู้ดีถึงความพยายามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการสร้างพระราชวังที่มี “สุขภาวะ” ที่ดีกว่าที่เคยเป็นมากับการสร้างพระราชวังสวนดุสิต โดยการก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากการประพาสยุโรปในปี 1897 เมื่อพระบรมมหาราชวังเริ่มมีผู้คนอยู่อาศัยมากเกินไป พระบรมมหาราชวังจึงไม่เพียงแต่จะมีอุณหภูมิร้อนระอุในช่วงฤดูร้อนเพราะขาดการระบายอากาศที่ดีเท่านั้น หากแต่อากาศที่ไม่ไหลเวียนยังเป็นสาเหตุของโรคระบาดและสุขอนามัยที่ไม่ดีอีกด้วย[5] ณ พระราชวังแห่งใหม่ กษัตริย์สามารถรื่นรมย์ไปกับ “พื้นที่” และ “ความโปร่งสบาย”[6] ภายในพระที่นั่งวิมานเมฆที่สร้างขึ้นจากไม้สักทองของพระองค์ซึ่งเต็มไปด้วยระเบียงซึ่งเปิดรับพื้นที่ภายนอก การประทับอยู่ ณ พระที่นั่งแห่งใหม่นี้ พระพลานามัยของในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงฟื้นฟูแข็งแรงขึ้น (พระองค์เข้าประทับที่พระที่นั่งแห่งนี้หลังจากประชวรด้วยโรคมาลาเรีย)[7] รวมไปถึงสภาวะทางพระราชหฤทัยก็ดีขึ้นด้วยเช่นกัน ดังที่มีรายงานถึงความผ่อนคลายและสบายใจของพระองค์[8] การสร้างที่พักอาศัยซึ่งมีการระบายอากาศที่ดีเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่เกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ของการสร้างกรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระอนุชาต่างมารดา และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำเนินรอยตามอย่างแข็งขัน เมื่อทั้งสองพระองค์ทรงโปรดให้มีการสร้างตำหนักปลายเนิน (1912-1914) และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน (1923-1924) หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง[9] ในขณะที่พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ป่วยด้วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์[10] ซึ่งในกรณีของพระองค์นั้นนั้น คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาได้ถวายคำแนะนำว่า การใช้ชีวิตในสภาพอากาศที่อบอุ่นและมีอากาศไหลเวียนดี เช่น ชายทะเล จะช่วยทำให้พระอาการดีขึ้นได้

Screen Shot 2563-06-09 at 5.24.08 AM.png
Screen Shot 2563-06-09 at 5.24.14 AM.png

 

Fig. 4: King Chulalongkorn delighted  in the gardens of the Dusit Palace 

(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสำราญพระอิริยาบถในพระราชวังดุสิต) from

Thongthong Chantharangsu, Phratinung Vimanmek. (Bangkok: Thai Military Bank, 1983).

Fig. 5: Sun Terrace of the Paimio Sanatorium designed by Alvar Aalto

The notion that “fresh air” had curative effects, though dating back to the 5th century BC,[11]  remains pervasive even in Modern architecture, especially for the treatment of tuberculosis — a respiratory disease with direct association to the overcrowded and unsanitary conditions that followed rapid industrialization and modernization. In her essay, “Strange Bedfellows: Modernism and Tuberculosis,” Margaret Campbell argues that the Modernist’s new prevalent “classless and hygienic lifestyle” was a result of the cross-fertilization between the research and treatment of the disease and the ethos of the Modern movement to integrate aesthetics and social purpose.[12] From urban planning (Howard’s “Garden City”), to sanatoria (Aalto’s Paimio Sanatorium) and their flat roofs, verandas, balconies, and chaise lounges (Aalto’s Paimio chair), we have seen attempts in design across different scales to mitigate the illness. However, the functionalism of these designs has quickly become obsolete, and their modernist architectural features (the flat root, the balcony, the recliner chair) in the attempt to rationalize the pursuit of good health and hygiene have been reduced to merely “lifestyle therapy.”[13] This relationship between the dominant medical discourse of the twentieth century and the formation, representation, and reception of modern architecture was further investigated by Beatriz Colomina in her book X-Ray Architecture,  where she argues that tuberculosis (and the X-ray as the diagnostic tool), indeed, made modern architecture modern [14] — hence, “modernity was driven by illness.”[15]   As contemporaries that evolved in parallel,  the x-ray allows visibility into the body, as a modern building opens its interior to the public, enhancing the body and the psyche of its inhabitants.[16] However, it has been revealed with the introduction of the antibiotic streptomycin as a cure for tuberculosis in 1943, that there was little scientific support for the therapeutic effects of the air and sun in the sanatorium.

ความคิดที่ว่าอากาศบริสุทธิ์นั้นมีคุณสมบัติที่ช่วยรักษาสุขภาพได้ แม้จะเป็นสิ่งที่ทำกันมายาวนานนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์กาล[11] แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง กระทั่งในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาวัณโรค อันเป็นโรคทางเดินหายใจที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการอยู่ในพื้นที่ที่มีคนแออัดและไม่ถูกสุขอนามัยหลังยุคอุตสาหกรรมและการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของพื้นที่เมือง ในบทความ ‘Strange Bedfellows: Modernism and Tuberculosis,’ Margaret Campbell แย้งว่าค่านิยมของวิถีชีวิตที่ไร้ชนชั้นและมีสุขลักษณะที่ดี อันเป็นสิ่งที่บรรดาโมเดิร์นนิสต์เปิดรับและเดินตามอย่างกว้างขวางนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากการผสมข้ามกันระหว่างการค้นคว้าและรักษาโรคกับคุณลักษณะของแนวคิดสมัยใหม่ที่ทำการบูรณาการสุนทรียภาพและจุดประสงค์ทางสังคมเข้าด้วยกัน[12] นับตั้งแต่การวางผังเมือง (“Garden City” โดย Ebenezer Howard) ไปจนถึงโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง (Paimio Sanatorium โดย Alvar Aalto) และหลังคาแบนๆ ชาน ระเบียง เก้าอี้ยาวแบบ chaise lounge (เก้าอี้ Paimio ของ Alvar Aalto) เราได้เห็นความพยายามในการใช้การออกแบบระดับต่างๆ เพื่อบรรเทาการเจ็บป่วย อย่างไรก็ดี การใช้งานของงานออกแบบเหล่านี้ก็ตกยุคไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (หลังคา ระเบียง และเก้าอี้เอนหลัง) กับความพยายามที่จะสร้างเหตุผลให้กับการสร้างสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี ก็ถูกลดความสำคัญลงไปให้เป็นเพียง “วิถีชีวิตบำบัด” (lifestyle therapy) เท่านั้น[13]  ความสัมพันธ์ระหว่างวาทกรรมทางการแพทย์ที่กว้างขวางในยุคศตวรรษที่ 20 กับการก่อร่างสร้างตัว การเป็นตัวแทน และการยอมรับของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ได้รับการค้นคว้าโดย Beatriz Colomina ในหนังสือ X-Ray Architecture ของเธอ ที่เธอโต้แย้งว่าวัณโรค (และเครื่องเอกซเรย์ ในฐานะของเครื่องมือในการวินิจฉัยโรค) คือสิ่งที่ช่วยทำให้สถาปัตยกรรมสมัยใหม่มีความทันสมัยขึ้นมา[14] ดังนั้นแล้ว ความเป็นสมัยใหม่จึงถูกขับเคลื่อนด้วยความเจ็บป่วย[15] ดังเช่นสิ่งร่วมยุคสมัยที่วิวัฒน์คู่ขนานกันไปอย่างเครื่องเอกซเรย์ที่ทำให้เรามองเห็นภายในร่างกายมนุษย์ เหมือนกันกับที่อาคารสมัยใหม่เปิดพื้นที่ภายในสู่สาธารณะ ร่างกายและจิตวิญญาณได้ถูกขับเน้นให้เห็นเด่นชัดขึ้น[16] อย่างไรก็ตาม หลังจากการนำยาปฏิชีวนะสเตรปโตมัยซิน (Antibiotic Streptomycin) มาใช้ในการรักษาวัณโรคในปี 1943 สิ่งที่ถูกเปิดเผยตามมาก็คือ มีข้อสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์เพียงน้อยนิดถึงผลของอากาศและแสงอาทิตย์ภายในโรงพยาบาลที่มีต่อการรักษาวัณโรค

Screen Shot 2563-06-09 at 5.24.31 AM.png
Screen Shot 2563-06-09 at 5.24.36 AM.png

Fig. 6: Ebenezer Howard, Garden City, from To-morrow: A Peaceful Path to Real Reform, London: Swan Sonneschein, 1898, plate 2. CCA Collection, ID:87-B15949

Fig. 7: Aino Aalto in Paimio chair. Photomontage, 1930s. Alvar Aalto Museum.

The emphasis from architects and public health officials in the nineteenth and early twentieth centuries on the health effects of ventilation had been substantial. Originally developed for moisture control in textile factories and print shops, the first domestic use of air conditioning was believed to be in 1925, when the technology was installed in Mrs. John Kellogg’s bedroom, who had been suffering from asthma.[17]  Towards the 1970s, tightly insulated buildings or “tight buildings” that had a low air exchange rate were controversially referred to as “sick buildings” in the medical literature, engineering and technical publications, and among the general public.[18] The manipulation of air through a building becomes the principal matter in which architectural decisions were tied to building-related illnesses — thus, the spatialization of health. While the service in which air is handled —  be it filtering outside air, reducing pollen, molds, and mildews, controlling humidity, to providing comfort — becomes capitalized by manufacturers like Frigidaire or Carrier, based on the promise of providing better health.[19] Clean, as in “hypoallergenic,” air is no longer free for all, as the agency shifts in favor of commercialism. 

การให้ความสำคัญจากฝั่งสถาปนิกและบุคลากรสาธารณสุขในช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 เกี่ยวกับผลกระทบทางสุขภาพของการระบายอากาศนับว่าเป็นไปอย่างมีนัยยะสำคัญ จากจุดเริ่มต้นที่เป็นการพัฒนาเพื่อควบคุมความชื้นภายในโรงงานผลิตสิ่งทอและโรงพิมพ์ การใช้งานของระบบปรับอากาศในระดับครัวเรือนยุคแรกๆ นั้นเชื่อกันว่าเริ่มขึ้นในปี 1925 เมื่อเทคโนโลยีดังกล่าวได้รับการติดตั้งในห้องนอนของ Mrs. John Kellogg ที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด[17] ในช่วงทศวรรษที่ 1970s  อาคารที่ได้รับการติดตั้งฉนวนอย่างแน่นหนาหรือที่เรียกกันว่า “อาคารแบบปิด” (tight building) ที่มีการหมุนเวียนของอากาศในระดับต่ำนั้นได้รับการเรียกขานกันด้วยชื่อเรียกที่เป็นที่ถกเถียงและไม่ค่อยน่าพิศมัยว่าเป็น “ตึกเป็นพิษ” (sick building) ในงานเขียนทางการแพทย์ วิศวกรรม และงานเขียนเชิงเทคนิคอื่นๆ รวมไปถึงในการรับรู้ของสาธารณชนทั่วไปด้วย[18] การจัดการเรื่องการถ่ายเทอากาศภายอาคารกลายเป็นเรื่องสำคัญในการตัดสินใจทางสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกผูกติดไปกับความเจ็บป่วย โดยมีความเกี่ยวพันไปกับอาคาร และการสร้างพื้นที่ของสุขภาพไปโดยปริยาย ในขณะที่การบริการซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการกรองอากาศภายนอก การลดปริมาณละอองเกสร เชื้อรา และราน้ำค้าง การควบคุมความชื้น ไปจนถึงการสร้างภาวะน่าสบาย เป็นสิ่งที่บรรดาผู้ผลิตอย่าง Frigidaire หรือ Carrier นำมาแปรเปลี่ยนเป็นธุรกิจทำเงิน ด้วยคำมั่นว่าจะหยิบยื่นสุขภาพที่ดีกว่า[19] ความสะอาดในแง่มุมของอากาศที่ไม่ทำให้เกิดการป่วยไข้นั้นไม่ใช่ของที่ไร้ราคาอีกต่อไป เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงของผู้เกี่ยวข้องที่เอื้อประโยชน์ให้กับการทำการค้าเพื่อหวังผลกำไร

Screen Shot 2563-06-09 at 5.24.58 AM.png
knoblauch-01.jpg

 

Fig. 8: Crosley Air Conditioner Advertisement, 1953

Fig. 9: François Dallegret, The Environment-Bubble , photomontage drawing for Reyner Banham’s “A Home Is Not a House,” 1965. Collection FRAC Centre, Orléans. Photographed by François Lauginie.

Provoked by preoccupation with absolute functionality and service systems of American architecture at the time, Reyner Banham’s 1965 article, “A Home is Not a House” proposes the ‘anti-house’ where a house can essentially be reduced down to its function of environmental, hence François Dallegret’s illustration of The Environment-Bubble, where a “transparent plastic bubble dome is inflated by merely air-conditioning output” of a car.[20] This inclination towards mechanical services of the American nation, he argues, was due to the psychological motive from the obsession with the clean.[21]  Likewise, the justifications of air-conditioning were not just about people having to breathe, but also as a cleaning mechanism of the house.[22]  In this proposition, the control over air was not merely concerning health, cleanliness, nor capital. Air became a material in which architecture (of the bubble) itself is constructed with, rendering other concrete (literally and figuratively) components useless in creating a controlled environment. 

เมื่อถูกกระตุ้นด้วยความหมกมุ่นในเรื่องหน้าที่ใช้สอยและระบบงานบริการของสถาปัตยกรรมอเมริกันในเวลานั้น งานเขียนของ Reyner Banham ในปี 1965 อย่าง “A Home is Not a House” นำเสนอแนวคิด ‘ต่อต้านบ้าน’ หรือ ‘anti-house’ ที่บ้านสามารถถูกลดหน้าที่ลงให้เหลือเพียงมิติของการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมได้ ดังที่ภาพประกอบ The Environment-Bubble โดย François Dallegret ที่โดมพลาสติกโปร่งใสถูกเป่าให้พองโดยใช้เพียงอากาศซึ่งถูกปล่อยออกจากรถยนต์[20] เขาโต้แย้งว่า แนวโน้มต่อการบริการด้านเครื่องจักรกลของอเมริกาเป็นผลมาจากแรงจูงใจทางจิตวิทยาที่เกิดจากความหมกมุ่นอยู่กับความสะอาด[21] และเช่นเดียวกัน การสร้างความชอบธรรมให้กับระบบปรับอากาศนั้นไม่ได้เป็นแค่เรื่องของความจำเป็นของผู้คนที่จะต้องหายใจ หากแต่เป็นหน้าที่ของมันในฐานะของกลไกทำความสะอาดของบ้าน[22] ตามแนวคิดนี้ การควบคุมที่มนุษย์มีเหนืออากาศไม่ได้เป็นไปเพียงเพื่อสุขภาพ ความสะอาด หรือการสร้างกำไร อากาศกลายมาเป็นสิ่งที่เป็นประกอบขึ้นเป็นตัวสถาปัตยกรรม (ของตัวฟองหรือ bubble ที่ว่า) และมันได้สร้างองค์ประกอบที่เป็นรูปธรรม (ทั้งในแง่ความเป็นรูปธรรมของวัตถุและวัสดุจริงๆ อย่างคอนกรีต) ที่ไร้ประโยชน์ใดๆ ต่อการสร้างสภาพแวดล้อมซึ่งถูกควบคุม

Dome-over-Manhattan.ppm.png
Screen Shot 2563-06-09 at 5.25.14 AM.png

 

Fig. 10-11: Buckminster Fuller, Dome Over Manhattan, R. Buckminster Fuller 

What seemed like a clithromania dream when Buckminster Fuller, together with Shoji Sadao, proposed a two-mile environmentally controlled dome over the island of Manhattan in 1960, no longer feels so nostalgic, when Dubai Holding, in 2014, revealed its plans for what would be the “world’s first temperature-controlled city” and largest shopping mall in the world, Mall of the World, located along Sheikh Zayed Road in Dubai.[23]  The 48 million square-foot project argues that it’s temperature-controlled environments (including the world’s largest indoor theme park and an integrated pedestrian city) would establish a year-round leisure destination that would attract 180 million visitors annually and allow tourists to “stay for a week without needing to leave the Mall of the World or use a car.”[24]  This raises the question on the kind of relationship between architecture and air we need today. Is it an environmental control utopia? How do we  mediate air, or see air as a medium through which architecture can be shaped?

สิ่งที่ฟังดูเหมือนความฝันของผู้ชื่นชอบการอยู่ในพื้นที่ปิดล้อมเมื่อตอนที่ Buckminster Fuller กับ Shoji Sadao เสนอแนวคิดของโดมขนาดยาว 2 ไมล์ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกควบคุม ครอบไปบนเกาะแมนแฮตตันในปี 1960 ไม่ได้ทำให้ผู้คนรู้สึกถวิลหาอดีตอย่างที่เคย เมื่อ Dubai Holding เผยถึงแผนการของโครงการที่จะกลายมาเป็น “เมืองที่มีการควบคุมอุณหภูมิแห่งแรกของโลก” และช็อปปิ้งมอลล์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Mall of the World ขึ้นในปี 2014 โครงการดังกล่าวตั้งอยู่บนถนน Sheikh Zayed ในดูไบ[23] ด้วยขนาดกว่า 48 ล้านตารางฟุต ที่โฆษณาว่าสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการควบคุมอุณหภูมิของมันนั้น (รวมไปถึงสวนสนุกในร่มที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเมืองถนนคนเดินอันเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการใช้งาน) จะเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจที่สามารถมาเยือนได้ตลอดปี และดึงดูดนักท่องเที่ยวกว่า180 ล้านคนต่อปี โดยนักท่องเที่ยวสามารถใช้เวลาอยู่ภายในพื้นที่ดังกล่าวเป็นเวลา 1 อาทิตย์ได้โดยไม่ต้องออกไปข้างนอกห้าง หรือใช้รถยนต์เพื่อเดินทางไปที่อื่นแต่อย่างใด[24] สิ่งที่เกิดขึ้นได้ตั้งคำถามถึงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมและอากาศที่เราต้องการในปัจจุบัน ใช่ยูโทเปียแห่งการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่? แล้วเราคำนึงถึงอากาศ หรือมองอากาศในฐานะของสื่อชนิดหนึ่งที่สถาปัตยกรรมจะสามารถถูกกำหนดให้เป็นได้?

mall-of-the-world-4063.jpg
MOTW_-_Image_10.jpg

 

Fig. 12: Dubai Holdings, Mall of the World, Dubai, Developer’s Model, Propsearch LLC

Fig. 13: Dubai Holdings, Mall of the World, Dubai, Interior Rendering, Archdaily 

 

DOWNLOAD PDF HERE

1 David Gissen, “A Theory of Pollution for Architecture,”

in Imperfect Health: The Medicalization of Architecture, (Montreal: Canadian Centre for Architecture; Lars-Müller Publishers, 2012), 117.

2 Ibid.

3 Gary Boyle, “Bangkok has world’s third worst air quality,” Bangkok Post, accessed

April 1, 2020. https://www. bangkokpost.com/learning/ easy/1831894/bangkok-has- worlds-third-worst-air-quality

4 G.Z. Brown and Mark DeKay, Sun, Wind & Light: Architectural Design Strategies, (New York: John Wiley & Sons, 2001), xiv-xv.

5 Thongthong Chantharangsu, Phratinung Vimanmek, (Bangkok: Thai Military Bank, 1983), 80.

6 Naengnoi Suksri, Palaces of Bangkok: Royal Residences of the Chakri Dynasty, (Bangkok: Asia Books, 1996), 200.

7 Ibid., 198.

8 Chantharangsu, Vimanmek, 81.

9 Although the autoimmune disease affects mainly the joints, rheumatoid arthritis

can also have respiratory complications.

10 Suksri, Palaces, 143.

11 Margaret Campbell, “Strange Bedfellows: Modernism and Tuberculosis,” in Imperfect Health: The Medicalization of Architecture, (Montreal: Canadian Centre for Architecture; Lars-Müller Publishers, 2012), 133.

12 Ibid.

13 Ibid.,149.

14 Beatriz Colomina, X-Ray Architecture, (Baden: Lars Müller Publishers, 2019), 63. 15 Ibid., 11.

16 Ibid., 10.

17 Carla C. Keirns, “Allergic Landscapes, Built Environments and Human Health,” in Imperfect Health: The Medicalization of Architecture, (Montreal: Canadian Centre for Architecture; Lars-Müller Publishers, 2012), 105.

18 Ibid., 108.

19 Ibid., 105.

20 Reyner Banham, “A home is Not a House,” Art in America, Volume 2 (1965): 70-79.

21 Ibid., 73.

22 Ibid.

23 Cleofe Maceda, “Dubai’s Mall of the World to be built

in 10 years,” Gulf News, accessed April 1, 2020. https:// gulfnews.com/business/ dubais-mall-of-the-world-to- be-built-in-10-years-1.1357950 A fragment of this not-so- distant future vision was expected to be completed before the Dubai Expo 2020 this year.

24 “Mall of the World Guide,” Propsearch.ae, accessed April 1, 2020. https://propsearch.ae/ dubai/mall-of-the-world

bottom of page